บางครั้งการซื้อเครื่องสำอาง และเปิดใช้ไปเป็นเวลานาน อาจทำให้ลืมว่าใช้ไปนานแค่ไหน หรือเช็ควันหมดอายุสินค้าจากตัวบรรจุภัณฑ์ไม่ได้ เนื่องจากตัวเล็ก ไม่ชัดเจน หรือบางผลิตภัณฑ์ไม่มีการระบุวันหมดอายุ หรือระยะเวลาที่สามารถใช้งานได้ ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีเช็ควันหมดอายุเครื่องสำอาง เช็คโค้ดเครื่องสำอางง่ายๆ ด้วยตัวเอง
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
Toggleรวมวิธีเช็ควันหมดอายุเครื่องสำอาง
การเช็ควันหมดอายุเครื่องสำอางนั้น มีความสำคัญสำหรับผู้ใช้อย่างมาก เพื่อให้เราทราบได้ว่าเครื่องสำอางชิ้นนี้หมดอายุแล้วไม่ควรใช้ต่อแล้ว เพราะอาจได้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่าเดิม หรือเนื้อผลิตภัณฑ์อาจเปลี่ยนไป หากใช้แล้วอาจเกิดการระคายเคือง ไม่ปลอดภัยต่อผิวได้ จึงควรเรียนรู้วิธีเช็ควันหมดอายุสินค้า เช็คโค้ดเครื่องสำอางเอาไว้นั่นเอง
1. เช็คโค้ดเครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่จะมีรหัสที่ใช้บอกว่า สินค้าผลิตขึ้นวันที่เท่าไหร่ หมดอายุวันที่เท่าไหร่ หรือล็อตสินค้าที่เท่าไหร่ หรือที่เรียกว่า Batch Code ซึ่งสามารถนำไปตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์สำหรับเช็คโค้ดเครื่องสำอาง แต่บางครั้งตามเว็บไซต์ที่ใช้เช็ค Batch Code ก็ไม่มีการอัปเดตรุ่นใหม่ๆ หรือมีไม่ครบทุกแบรนด์ ทำให้บางครั้งก็ไม่สามารถเช็คได้ ผู้ผลิตหลายคนจึงหันมาใช้สร้าง QR Code ที่มีลักษณะเฉพาะ พิมพ์ลงแต่ละบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้บอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของสินค้าได้อย่างชัดเจน และน่าเชื่อถือ Packtica มีบริการออกแบบฉลาก QR Code หรือ ฉลากโฮโลแกรมที่มีความปลอดภัย จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบได้ และยังช่วยป้องกันการโดนปลอมแปลงอีกด้วย
2. ดูข้อมูลที่ตัวผลิตภัณฑ์
การดูข้อมูลบนผลิตภัณฑ์ก็เป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย แต่อาจจะต้องลองสังเกตหาดู เพราะบางครั้งผลิตภัณฑ์นั้นมีขนาดเล็ก ข้อมูลเหล่านี้จึงมีขนาดเล็กตามไปด้วย ซึ่งบนผลิตภัณฑ์จะมีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เป็นตัวย่อดังนี้ MFG (Manufacturing date) แปลว่าวันผลิต และ EXP (Expiration Date) แปลว่าวันหมดอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพิมพ์ไว้ที่กล่อง หรือตัวผลิตภัณฑ์ การที่ผู้ผลิตมีการพิมพ์ QR Code เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเช็คโค้ดเครื่องสำอางค์ได้เพียงสแกน จึงถือเป็นวิธีที่สะดวกกว่า
3. สังเกตที่สัญลักษณ์วันหมดอายุ
โดยวิธีการสังเกตคือให้ดูที่ฝา หรือบรรจุภัณฑ์ จะมีสัญลักษณ์รูปกระปุกครีมเปิดฝา และจะมีตัวเลขระบุอยู่ในนั้น เช่น 6M 12M 24M ซึ่ง M ย่อมาจาก Month ที่แปลว่าเดือน ตัวเลขด้านหน้าหมายถึงระยะเวลาหมดอายุเมื่อมีการเปิดใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่น 6M แปลว่าผลิตภัณฑ์นี้จะหมดอายุภายใน 6 เดือนหลังจากมีการเปิดใช้ พวกนี้หมายถึง เวลาหมดอายุหลังเราเปิดใช้งาน การสังเกตที่สัญลักษณ์วันหมดอายุเป็นอีกวิธีที่สามารถสังเกตได้ง่าย แต่อาจจะต้องมีการจดจำวันที่เริ่มเปิดใช้เอาไว้ด้วย
4. เช็ควันหมดอายุเครื่องสำอางผ่านเว็บ Checkcosmetic
วิธีนี้เป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย ๆ และสะดวกสบาย โดยสามารถเช็ควันหมดอายุเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์ https://checkcosmetic.net/ ได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่เลือกแบรนด์ที่ต้องการตรวจสอบ กรอก Batch Code ที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ลงไปแล้วกด Calculate ระบบจะแสดงวันที่ผลิตและอายุการเก็บรักษาที่เหลืออยู่ขึ้นมา เรียกได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่ตอบโจทย์กับคนชอบที่กล่องผลิตภัณฑ์หรือมักจะเจอปัญหาข้อมูลหาย-จางเป็นอย่างมาก
5. นับจากวันที่เริ่มเปิดใช้งาน
สำหรับวิธีสุดท้าย เป็นวิธีที่เหมาะกับสินค้าหรือเครื่องสำอางที่มีอายุการใช้งานสั้น ๆ เช่น คอนแทคเลนส์แบบรายเดือน น้ำยาหยอดตา เป็นต้น โดยให้นับจากวันที่ใช้งานไปจนครบอายุสินค้า สำหรับคนที่กลัวว่าจะลืมหรือนับคลาดเคลื่อน แนะนำว่าให้จดโน้ตเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เผลอใช้งานจนเกินวันหมดอายุ
เครื่องสำอางแต่ละชนิดมีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่
เรื่องที่ควรทราบอีกอย่างหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เผลอใช้เครื่องสำอางที่หมดอายุคือ การรู้ว่าเครื่องสำอางแต่ละชนิดนั้นมีอายุการใช้งานเท่าไหร่บ้าง ซึ่งอาจจะมีความคลาดเคลื่อนต่างกันไป แต่ก็สามารถใช้เป็นแนวทางในการเลือกใช้เครื่องสำอางได้ และเมื่อถึงเวลาก็ควรเก็บทิ้ง ไม่ควรนำมาใช้ต่อ
- อายไลน์เนอร์ชนิดน้ำ มีอายุ 6 เดือน หลังเปิดใช้งาน
- มาสคาร่าปัดขนตามีอายุ 1 เดือน หลังเปิดใช้งาน
- เครื่องสำอางชนิดดินสออย่างอายไลน์เนอร์และดินสอเขียนคิ้วมีอายุ 2 ปี หลังเปิดใช้งาน
- อายแชโดว์ทาตามีอายุ 2-3 ปี หลังเปิดใช้งาน
- คอนซีลเลอร์มีอายุ 1 ปี หลังเปิดใช้งาน
การเช็ควันหมดอายุสินค้า หรือเครื่องสำอางสามารถทำได้หลากหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการเช็คโค้ดเครื่องสำอาง การดูสัญลักษณ์ที่บอกวันหมดอายุ การดูข้อมูลที่ผลิตภัณฑ์ การเช็คผ่านเว็บไซต์ หรือการนับจากวันที่เริ่มเปิดใช้งาน ซึ่งวิธีทั้งหมดนี้จะช่วยให้ทราบถึงวันหมดอายุได้ทั้งหมด ดังนั้น หากคุณพบว่าเครื่องสำอางหรือสินค้าที่ใช้อยู่หมดอายุแล้ว ก็ควรจะทิ้งแล้วซื้อของใหม่มาใช้จะดีกว่า เนื่องจากเครื่องสำอางที่หมดอายุการใช้งานอาจเสื่อมประสิทธิภาพ จนทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาไม่เหมือนเดิม หรือหากร้ายแรงก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังได้ จึงควรหมั่นเช็ควันหมดอายุให้ดี