ระบบเก็บข้อมูลลูกค้าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมากเลยทีเดียว เนื่องจากสามารถที่จะนำเอาไปต่อยอดให้กับธุรกิจเพิ่มได้หลายทาง ปัจจุบันจึงสามารถเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรูปแบบไหน หรือเป็นองค์กรที่ทำเกี่ยวกับด้านใดก็ตาม การเก็บข้อมูลลูกค้า คือสิ่งที่หลายส่วนจึงหันมาให้ความสำคัญกันมากยิ่งขึ้น
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
Toggleระบบเก็บข้อมูลลูกค้า คืออะไร?
ระบบเก็บข้อมูลลูกค้าออนไลน์ หรือ Customer Database System คือซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มที่ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าอย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ไปจนถึงข้อมูลการใช้บริการ เช่น ประวัติการซื้อ ความถี่ในการซื้อ ยอดการใช้จ่าย ข้อคิดเห็นและคำติชม เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจลูกค้า ปรับปรุงการบริการและวางกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประโยชน์ของระบบเก็บข้อมูลลูกค้า
–ช่วยในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจลูกค้า
การมีข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนอย่างละเอียด ทั้งข้อมูลส่วนตัว พฤติกรรมการซื้อ ความชอบ ไลฟ์สไตล์ จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจลูกค้าในเชิงลึกมากขึ้น รู้ว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องการ ความชอบหรือปัญหาแตกต่างกันอย่างไร ทำให้สามารถออกแบบสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้ดียิ่งขึ้น
–ใช้ในการวางแผนการตลาดและโปรโมชัน
ข้อมูลการซื้อสินค้าจากระบบเก็บข้อมูลลูกค้า จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมและแนวโน้มการซื้อของลูกค้าชัดเจนขึ้น ว่าในแต่ละช่วงนิยมซื้อสินค้าอะไร เพื่อจัดทำโปรโมชันและแคมเปญทางการตลาดในจังหวะที่เหมาะสม อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อทำการตลาดแบบ Personalization ที่ส่งข้อความตรงใจและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้แม่นยำขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพการบริการลูกค้า
ด้วยการเก็บประวัติการใช้บริการ ปัญหาที่พบ และข้อเสนอแนะจากลูกค้าเก็บไว้ในระบบ จะทำให้ทีมบริการลูกค้าเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ลึกซึ้งมากขึ้น สามารถให้บริการที่รวดเร็ว แก้ปัญหาได้ตรงจุด ตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ นำไปสู่การบอกต่อและกลับมาใช้บริการซ้ำในระยะยาว
นำไปใช้ในการ Remarketing
ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อและการเยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถนำไปใช้ในการทำ Remarketing เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าสนใจกลับมาอีกครั้ง เพิ่มโอกาสในการปิดการขาย
นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความต้องการออกสินค้าใหม่
การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าอย่างลึกซึ้งจากระบบเก็บข้อมูลลูกค้า สามารถช่วยในการระบุช่องว่างในตลาดและความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง นำไปสู่การพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ที่ตรงใจลู
วิเคราะห์มูลค่าคำสั่งซื้อโดยเฉลี่ย หรือ Average Order Value
การติดตามมูลค่าคำสั่งซื้อเฉลี่ยช่วยให้ธุรกิจเข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าและสามารถวางแผนกลยุทธ์เพื่อเพิ่มมูลค่าการซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รู้จัก “Consumer Insights Cloud” ระบบเก็บข้อมูลลูกค้าอัจฉริยะจาก PACKTICA
ระบบเก็บข้อมูลลูกค้า เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถให้บริการที่ดีขึ้น ซึ่ง PACKTICA ก็มีโปรแกรมเก็บข้อมูลลูกค้าออนไลน์ให้คุณเลือกใช้ กับระบบ Consumer Insights Cloud ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้คุณสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าที่ได้มาจากการสแกนคิวอาร์โค้ดอัจฉริยะโดยระบบของเราจะทำการเก็บข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าเกี่ยวกับพฤติกรรมและแนวโน้มของผู้บริโภค สิ่งนี้จะช่วยให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้
หลักการทำงานของระบบเก็บข้อมูลอัจฉริยะ Consumer Insights Cloud
สำหรับหลักการทำงานของระบบเก็บข้อมูลลูกค้าอัจฉริยะ Consumer Insights Cloud มีดังนี้
- ผู้บริโภคสแกน Smart QR Code ที่พิมพ์อยู่บนผลิตภัณฑ์เพื่อเริ่มต้นมีส่วนร่วม โดยผู้บริโภคจะสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือประสบการณ์การใช้งานที่สามารถตอบสนองได้ทันที
- ลูกค้าเพลิดเพลินกับการมีส่วนร่วมและข้อมูลที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงโปรโมชันพิเศษ, วิดีโอสาธิตผลิตภัณฑ์, การแสดงความคิดเห็น หรือการติดต่อกับแบรนด์โดยตรง ในขณะเดียวกันข้อมูลของผู้บริโภคก็จะถูกเก็บรวบรวมลงในฐานข้อมูลลูกค้าของธุรกิจ
ข้อมูลที่รวบรวมได้จะถูกวิเคราะห์ผ่านระบบ Consumer Insights Cloud เพื่อทำรีพอร์ตข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความชอบและแนวโน้มของกลุ่มลูกค้า โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปยังคลาวด์ และผ่านเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อค้นหาแนวโน้ม พฤติกรรมการซื้อ ความสนใจและความชอบของผู้บริโภครายนั้น ๆ
วิธีการเก็บข้อมูลลูกค้า มีอะไรบ้าง
ตามที่เราได้มีการเกริ่นไปแล้วว่า “ข้อมูล” สามารถที่จะเอามาต่อยอดให้กับธุรกิจได้ ระบบเก็บข้อมูลลูกค้าที่ดี จะทำให้ธุรกิจของคุณสามารถที่จะนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาต่อยอดเพื่อขยายธุรกิจได้ในอนาคต และเพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ซึ่งในวันนี้เราได้รวบรวมวิธีการเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อให้คุณสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยการเก็บข้อมูลสามารถทำได้โดยมีวิธีดังนี้
1. เก็บข้อมูลจากการกรอกฟอร์มแบบสอบถาม
การเก็บข้อมูลลูกค้าจากการกรอกฟอร์มแบบสอบถาม เป็นหนึ่งในวิธีที่มีการใช้เก็บข้อมูลลูกค้ากันมานานแล้ว โดยวิธีการนี้จะใช้วิธีการเก็บข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้สามารถที่จะได้ข้อมูลคำตอบที่ชัดเจน โดยสามารถที่จะขอข้อมูลเกี่ยวกับความชอบของลูกค้าหรือผู้บริโภคเพิ่มเติม เพื่อนำเอาไปต่อยอดให้กับสินค้าหรือบริการได้อย่างตรงตามความต้องการ
2. เก็บข้อมูลการใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์
ปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเข้าถึงลูกค้าและผู้บริการได้ง่ายมากที่สุด เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก จึงทำให้การเก็บข้อมูลการใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์สามารถเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความชื่นชอบหรือความต้องการของลูกค้าได้ง่าย และสามารถนำเอาข้อมูลที่ได้จากระบบเก็บข้อมูลลูกค้าไปปรับปรุงและพัฒนาแผนการตลาดให้ดีขึ้นได้อีกด้วย
3. ประวัติการซื้อสินค้า
หากคุณมีข้อมูลประวัติการสั่งซื้อสินค้าในระบบเก็บข้อมูลลูกค้าจะทำให้คุณมีข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้าหรือผู้บริโภคที่เคยซื้อหรือใช้บริการ อาทิ ชื่อ เบอร์โทรและที่อยู่ที่เคยทำการจัดส่ง ข้อมูลเหล่านี้สามารถเก็บไว้เป็นฐานลูกค้า รวมถึงอาจใช้ในการเสนอโปรโมชันโดยตรงได้
4. เก็บข้อมูลจากการระบบสแกนสะสมแต้ม
สำหรับธุรกิจที่มีการใช้ระบบการสะสมแต้ม นับว่าเป็นระบบเก็บข้อมูลลูกค้าเช่นกัน นอกจากจะเป็นการเพิ่มความประทับใจให้แก่ลูกค้าหรือผู้บริโภค การใช้ระบบสะสมแต้มยังเป็นวิธีการที่จะเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคสนใจที่จะมาซื้อสินค้าซ้ำ หรือเข้ามาใช้บริการซ้ำอีกด้วย เพราะการใช้ระบบสะสมแต้มในเชิงของธุรกิจแล้วยังสามารถที่จะเก็บเป็นข้อมูลของลูกค้า เพื่อให้คุณสามารถที่จะนำเอาข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านการต่อยอดในอนาคต
วัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลลูกค้าคืออะไร
ในการเก็บข้อมูลของลูกค้าหรือผู้บริโภค ไม่ว่าจะจากวิธีการกรอกฟอร์มสอบถาม ประวัติการสั่งซื้อ หรือข้อมูลที่ได้จากวิธีการใดก็ตาม ในเชิงธุรกิจแล้วสามารถที่จะเอามาต่อยอดให้กับสินค้าและบริการของคุณ เพื่อให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายหรือเพื่อให้สินค้าดีมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การปรับรูปลักษณ์ของสินค้าโดยการมองหาร้านรับทำแพคเกจจิ้ง เพื่อปรับภาพลักษณ์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น เป็นการเพิ่มกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นหรือผู้ที่ชื่นชอบสินค้าที่มีการออกแบบที่ทันสมัย อีกทั้งยังสามารถที่จะนำเอาไปวิเคราะห์ต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใหม่ๆ ให้ตรงกับความชื่นชอบของลูกค้า หรือเพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ให้สนใจในสินค้าหรือบริการมากขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตามหากเราสามารถใช้ข้อมูลเพื่อหาลูกค้าใหม่เข้ามาได้ ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้ด้วยเช่นกัน
CRM คืออะไร?
CRM (Customer Relationship Management) คือกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเป็นกุญแจสำคัญ เพื่อจัดการข้อมูลลูกค้า ติดตามปฏิสัมพันธ์ของลูกค้า ยังรวมไปถึงสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อนำไปพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ ระบบเก็บข้อมูลลูกค้าอย่าง CRM ยังช่วยในการจัดการตั้งแต่กระบวนการขาย การบริการลูกค้าและการตลาดของแบรนด์ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพิ่มยอดขาย และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาวอีกด้วย
การทำ CRM สำคัญอย่างไร?
การทำ CRM หรือรักษาสัมพันธ์อันดีกับลูกค้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจในยุคปัจจุบัน เนื่องจากจะช่วยให้แบรนด์เข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งนำไปสู่การนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้น โดยระบบเก็บข้อมูลลูกค้านี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนและประหยัดเวลาในการจัดการข้อมูลของลูกค้า นอกจากนี้ ยังช่วยในการรักษาฐานลูกค้าเดิม และยังสามารถเพิ่มโอกาสในการหากลุ่มลูกค้าใหม่ ผ่านการติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค เช่น การทำระบบสะสมแต้ม ซื้อครบ 10 ครั้ง รับสินค้าฟรี ก็ถือว่าเป็นการทำ CRM เช่นเดียวกัน ทำให้สามารถวิเคราะห์ความพฤติกรรมของลูกค้าได้ล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม การทำ Customer Relationship Management นอกจากจะสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าแล้ว ยังสามารถสร้างความได้เปรียบการแข่งขันทางการตลาดกับแบรนด์อื่น ๆ ได้อีกด้วย
ตัวอย่างการเก็บข้อมูลลูกค้าและนำไปใช้
การเก็บและใช้ข้อมูลลูกค้าอย่างชาญฉลาดเช่นนี้ไม่เพียงช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวตามความต้องการของตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว
ธุรกิจร้านกาแฟออนไลน์
- เก็บข้อมูล: ใช้แอปพลิเคชันสั่งกาแฟเพื่อเก็บข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้า เช่น ประเภทกาแฟที่ชอบ (เช่น ลาเต้ อเมริกาโน่ คาปูชิโน่) ระดับความหวาน ชนิดของนมที่ใช้ (นมสด นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์) เวลาที่สั่งบ่อย ความถี่ในการสั่ง และสาขาที่นิยมใช้บริการ นอกจากนี้ระบบเก็บข้อมูลลูกค้ายังเก็บข้อมูลการให้คะแนนและรีวิวผลิตภัณฑ์
- นำไปใช้: วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อส่งโปรโมชัน เฉพาะบุคคล เช่น ส่วนลดพิเศษสำหรับกาแฟที่ลูกค้าชอบในช่วงเวลาที่สั่งประจำ พัฒนาเมนูใหม่ตามความนิยมของลูกค้า ปรับปรุงสูตรกาแฟตามฟีดแบก และ
ธุรกิจร้านเสื้อผ้า
- เก็บข้อมูล: ใช้ระบบบัตรสมาชิกเพื่อเก็บประวัติการซื้อของลูกค้า รวมถึงขนาดเสื้อผ้า สไตล์ที่ชอบ (เช่น เรียบหรู ลำลอง วินเทจ) สีที่นิยม แบรนด์ที่ซื้อบ่อย ช่วงราคาที่ซื้อและช่วงที่มีการซื้อมากที่สุด นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลจากการสำรวจความพึงพอใจหลังการซื้อ และพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือแอปฯของร้าน
- นำไปใช้: วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแนะนำสินค้าใหม่ที่ตรงกับสไตล์และขนาดของลูกค้าแต่ละคน สร้างคอลเลคชั่นพิเศษตามความนิยมของลูกค้ากลุ่มใหญ่ ส่งการแจ้งเตือนเมื่อมีสินค้าใหม่ที่ตรงกับรสนิยมของลูกค้า จัดโปรโมชัน เฉพาะบุคคลในช่วงวันเกิดหรือเทศกาลพิเศษ และปรับปรุงการจัดวางสินค้าในร้านตามข้อมูลการซื้อ
ธุรกิจโรงแรม
- เก็บข้อมูล: ระบบเก็บข้อมูลลูกค้าบันทึกประวัติการเข้าพักของลูกค้า รวมถึงประเภทห้องที่ชอบ ความชอบด้านอาหาร (เช่น มังสวิรัติ ฮาลาล แพ้อาหารทะเล) กิจกรรมที่สนใจ (เช่น สปา กอล์ฟ ทัวร์เมือง) วันที่นิยมเข้าพัก ระยะเวลาเข้าพักเฉลี่ย และความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะหลังการเข้าพัก นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลการใช้บริการอื่นๆ ของโรงแรม เช่น ร้านอาหาร หรือบริการรถรับส่ง
- นำไปใช้: ระบบเก็บข้อมูลลูกค้าวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อส่งคูปองส่วนลดสำหรับสินค้าที่ซื้อประจำเมื่อใกล้หมด แนะนำสินค้าใหม่ที่น่าจะถูกใจตามประวัติการซื้อ จัดโปรโมชัน เฉพาะบุคคลตามพฤติกรรมการซื้อ ปรับปรุงการจัดวางสินค้าในร้านให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าส่วนใหญ่ และวางแผนสต็อกสินค้าให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบรนด์ของห้างเองตามความนิยมของลูกค้า
ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต
- เก็บข้อมูล: ใช้แอปพลิเคชันสะสมแต้มเพื่อเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้า รวมถึงรายการสินค้าที่ซื้อประจำ ความถี่ในการซื้อ ช่วงเวลาที่มาซื้อบ่อย ปริมาณการซื้อต่อครั้ง การตอบสนองต่อโปรโมชัน ต่างๆ และแนวโน้มการซื้อตามฤดูกาลหรือเทศกาล นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลการใช้คูปองส่วนลด และการเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษของร้าน
- นำไปใช้: ระบบเก็บข้อมูลลูกค้าวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อส่งคูปองส่วนลดสำหรับสินค้าที่ซื้อประจำเมื่อใกล้หมด แนะนำสินค้าใหม่ที่น่าจะถูกใจตามประวัติการซื้อ จัดโปรโมชัน เฉพาะบุคคลตามพฤติกรรมการซื้อ ปรับปรุงการจัดวางสินค้าในร้านให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าส่วนใหญ่ และวางแผนสต็อกสินค้าให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบรนด์ของห้างเองตามความนิยมของลูกค้า
ธุรกิจประกัน
- เก็บข้อมูล: ระบบเก็บข้อมูลลูกค้าที่รวบรวมข้อมูลสุขภาพของลูกค้า เช่น ประวัติการเจ็บป่วย การตรวจสุขภาพประจำปี ไลฟ์สไตล์ (การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์) ประวัติการเคลมประกัน รูปแบบการชำระเบี้ยประกันและข้อมูลครอบครัว นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลการใช้บริการเสริมต่างๆ เช่น บริการปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์ หรือโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ
- นำไปใช้: วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอแผนประกันที่เหมาะสมกับสถานะสุขภาพและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน ให้คำแนะนำด้านสุขภาพเฉพาะบุคคล พัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคที่ตรงกับความเสี่ยงของลูกค้า ปรับเบี้ยประกันตามพฤติกรรมสุขภาพ (เช่น ลดเบี้ยสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ) และสร้างแคมเปญส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าแต่ละประเภท รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า
สรุปบทความ
วิธีการเก็บข้อมูลลูกค้าที่เรารวบรวมมา เป็นวิธีที่สามารถเก็บข้อมูลได้ไม่ยาก ขึ้นอยู่กับว่าแต่ธุรกิจจะเลือกเอาวิธีเก็บข้อมูลใดไปใช้ สามารถเลือกวิธีเก็บข้อมูลที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณได้เอง หรือจะเลือกเก็บข้อมูลทุกวิธีก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ในการทำธุรกิจแล้วยิ่งมีข้อมูลของกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคมากเท่าไหร่ จะยิ่งส่งผลดีต่อธุรกิจเท่านั้น แต่ที่สำคัญอย่าลืมที่จะนำเอาข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่เก็บเอาไว้นั้นเสียเปล่า หากลูกค้าสนใจ ระบบเก็บข้อมูลลูกค้า ทาง Packtica เราเองก็มีระบบนี้เช่นกัน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย ที่นี่